ค้นเจอ 124 รายการ

ราด

หมายถึงก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่น ราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด.

เปรอะ

หมายถึง[เปฺรอะ] ว. เลอะ เช่น ผ้าเปรอะ, เกรอะกรัง เช่น สนิมเปรอะ, หมักหมม เช่น ขี้ไคลเปรอะ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า สับสน, ยุ่งเหยิง, เช่น ลวดลายเปรอะ วางของเปรอะไปหมด.

ถู

หมายถึงก. สี เช่น ถูขี้ไคล ถูฟัน ถูเนื้อถูตัว, เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไปไถมาให้สะอาด เช่น ถูบ้าน.

ทวาร,ทวาร-

หมายถึง[ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคำ เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคำสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).

โอ่อวด

หมายถึงก. อวด, พูดยกตัว, พูดอวดความรู้ความสามารถหรือความมั่งมีเป็นต้น. ว. ขี้อวด, ชอบพูดยกตัว, ชอบพูดอวดความรู้ความสามารถหรือความมั่งมีเป็นต้น.

อำพันขี้ปลา,อำพันทอง

หมายถึงน. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่าเป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.

โอ้อวด

หมายถึงก. อวด, พูดยกตัว, พูดอวดความรู้ความสามารถหรือความมั่งมีเป็นต้น. ว. ขี้อวด, ชอบพูดยกตัว, ชอบพูดอวดความรู้ความสามารถหรือความมั่งมีเป็นต้น.

โหยกเหยก

หมายถึง[โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้โยเยโหยกเหยกจริง.

ถามค้าน

หมายถึง(กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.

รด

หมายถึงก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอน นกขี้รดหลังคา.

สูญขี้ผึ้ง

หมายถึงน. กรรมวิธีหนึ่งในการหล่อโลหะ ใช้ขี้ผึ้งพอกหุ้มแกนทรายให้เป็นหุ่น แล้วทาไล้ด้วยดินเหนียวผสมขี้วัวและน้ำ จึงเข้าดินเป็นพิมพ์ นำไปเผาไฟสำรอกขี้ผึ้งให้ละลายออกจากพิมพ์ จากนี้เทโลหะหลอมเหลวเข้าแทนที่ขี้ผึ้ง.

มือกาว

หมายถึงว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า, ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของเผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูกไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ