ค้นเจอ 181 รายการ

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

อัป,อัป-

หมายถึง[อับปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).

มัชฌิมนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).

ปัตถะ

หมายถึง[ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).

ทร,ทร-

หมายถึง[ทอระ-] คำอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

นพปฎล เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

นพปดล เป็นคำที่เขียนผิด ❌

อธิป,อธิป-

หมายถึง[อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

พะ

หมายถึงใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.

ยอง

หมายถึงน. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.

อธิ

หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ