ค้นเจอ 138 รายการ

นวทวาร

หมายถึงน. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).

ลองเชิง

หมายถึงก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประหมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.

ลิเทียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๓ สัญลักษณ์ Li เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เบาที่สุดในบรรดาธาตุโลหะที่เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๐.๕°ซ. (อ. lithium).

ลหุโทษ

หมายถึงน. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

ปลิว

หมายถึง[ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดยปริยายใช้เป็นคำเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินตัวปลิว.

บัลลูน

หมายถึงน. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศ ทำให้ลอยได้ ใช้ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ใช้ว่า บอลลูน ก็มี. (อ. balloon).

กรมศักดิ์

หมายถึง[กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกำหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรงหนักเบาของความผิดที่กระทำ. (สามดวง).

ลูกบัลลูน

หมายถึงน. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศทำให้ลอยได้ ใช้ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ลูกบอลลูน บัลลูน หรือ บอลลูน ก็ว่า.

ถนิมสร้อย

หมายถึง[ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็นแม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า.

เบญจดุริยางค์

หมายถึงน. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขนชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทำจังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).

แซะ

หมายถึงก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทำงานอยู่เรื่อย.

เขม่น

หมายถึง[ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ