ค้นเจอ 111 รายการ

กระวี

หมายถึงน. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).

แคบ

หมายถึงน. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคำ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

ถนิม

หมายถึง[ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.

เอกอัครราชทูต

หมายถึง[เอกอักคฺระ-] น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐแต่งตั้งไปประจำยังสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติของตนในรัฐนั้น ๆ. (อ. ambassador).

แล้ง

หมายถึงน. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้งแล้งเป็นทะเลทราย.

ราชวรวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.

เอกสาร

หมายถึง[เอกกะ-] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.

กรกช

หมายถึง[กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).

เจ็ด

หมายถึงน. จำนวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราวเดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ