ค้นเจอ 115 รายการ

หลัง

หมายถึงน. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลำดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.

ฝาหอยโข่ง

หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.

กระทิง

หมายถึงน. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา.

ทุย

หมายถึงว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็นคำเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.

หอยโข่ง

หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง.

เจียนหมาก

หมายถึงก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอกเปลือกชั้นนอกตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือกชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับเปลือกนอกออกมากินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.

บรรทัด

หมายถึง[บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็นแนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตีหรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้น หรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.

กรับ

หมายถึง[กฺรับ] น. ไม้สำหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น “กรับ ๆ” เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.

ชั่ง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.

ปักษ,ปักษ-,ปักษ์

หมายถึง[ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).

ตาเดียว

หมายถึงน. ชื่อปลาในอันดับ Pleuronectiformes พบทั้งในทะเล นํ้ากร่อย และนํ้าจืด เมื่อเกิดใหม่ตาจะอยู่คนละข้างกันเหมือนลูกปลาทั่วไป แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นกะโหลกจะบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กล้ามเนื้อข้างหนึ่งบิดตามไปด้วย จึงทำให้ตาทั้ง ๒ ข้างอยู่ด้านเดียวกัน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ลิ้นหมา ใบขนุน ซีกเดียว ลิ้นเสือ จักรผาน ยอดม่วง ลิ้นหมาหงอนยาว ลิ้นควาย.

สารท,สารท,สารทฤดู

หมายถึง[สาด, สาระทะรึดู] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ในประเทศเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ซึ่งแบ่งฤดูกาลออกเป็น ๔ ฤดู คือ ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) และฤดูใบไม้ร่วง (สารทฤดู) นั้น ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นในเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน. (อ. autumn).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ