ค้นเจอ 136 รายการ

กราสิก

หมายถึง[กฺรา-] (โบ; กลอน) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาสิก; ส. กาศิก).

ละครลิง

หมายถึงน. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.

เส้นใย

หมายถึงน. วัสดุที่เป็นเส้น ใช้ประโยชน์นำไปทำสิ่งทอเช่นเสื้อผ้า พรม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เส้นใยธรรมชาติ ประเภทนี้มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เส้นใยที่ได้จากขนสัตว์ ฝ้าย นุ่น ป่าน ปอ ไหม แร่ซิลิเกต และเส้นใยสังเคราะห์ ประเภทนี้ไม่มีในธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่สร้างขึ้นโดยวิธีทางเคมี เช่น ไนลอน ไหมเทียม เส้นใยแก้ว.

หางกระรอก

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.

ลงอ่าง

หมายถึงเที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง

หมี่

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.

ชุมสาย

หมายถึงน. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย ว่า พระที่นั่งชุมสาย.

สาแก่ใจ

หมายถึงว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่าอย่าไปยุ่งกับเขา โดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่ายให้สาแก่ใจ.

ฮัจญ์

หมายถึงน. พิธีปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญในศาสนาอิสลาม ซึ่งจะต้องกระทำที่นครมักกะฮ์ (เมกกะ) ประเทศซาอุดีอาระเบียปัจจุบัน, เขียนเป็น หัจญ์ ก็มี.

พ่อเจ้าประคุณ

หมายถึงคำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.

สะพัก

หมายถึงน. ผ้าห่มเฉียงบ่า ราชาศัพท์ใช้ว่า ผ้าทรงสะพัก. ก. ห่มผ้า, ห่มคลุม, เช่น สะพักพระถันปทุเมศ. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

สะดึง

หมายถึงน. กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สำหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ