ค้นเจอ 181 รายการ

เบรก เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

เบรค เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ทีฆนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.

บรมัตถ์

หมายถึง[บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริงที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นำหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).

อภิ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

กวิน

หมายถึง[กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งนํ้า). (ทมิฬ แปลว่า งาม).

ทุติย,ทุติย-

หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).

ทับศัพท์

หมายถึงว. ที่รับเอาคำของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.

สังยุตนิกาย

หมายถึง[สังยุดตะ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.

คามี

หมายถึงใช้ประกอบท้ายคำอื่น แปลว่า ผู้ไป, ผู้ถึง, เช่น นิพพานคามี ว่า ผู้ถึงนิพพาน, วัฏคามี ว่า ผู้ไปในวัฏฏะ. (ป.).

บัญญัติ

หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).

ทะ

หมายถึงคำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น หรือเป็นคำซํ้าซึ่งคำหน้าเสียงกร่อนไป เช่น

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ