ค้นเจอ 189 รายการ

ปริโภค

หมายถึง[ปะริโพก] ก. บริโภค. (ป.).

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

อรรธภาค

หมายถึง[อัดทะพาก] น. ครึ่งหนึ่ง.

อัปฏิภาค

หมายถึง[อับปะติพาก] ว. ไม่มีเปรียบ, เทียบไม่ได้. (ป. อปฺปฏิภาค).

อัษฎางคิกมรรค

หมายถึง[อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.

อำมฤคโชค

หมายถึง[-มะรึคะ-] น. โชคดี.

อุจจารมรรค

หมายถึง[อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).

มุขยประโยค

หมายถึงน. ชื่อประโยคในตำราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มีประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.

ราชาโชค

หมายถึง(โหร) น. ชื่อตำแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศ ชื่อเสียง การงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.

วจีวิภาค

หมายถึงน. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.

วรรค

หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).

วัค

หมายถึงน. วรรค. (ป. วคฺค; ส. วรฺค).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ