ค้นเจอ 138 รายการ

หงุงหงิง,หงุง ๆ หงิง ๆ

หมายถึงว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.

ลดหย่อน

หมายถึงก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.

มหันตโทษ

หมายถึง[มะหันตะโทด] น. โทษหนัก, คู่กับ ลหุโทษ = โทษเบา. (ป. มหนฺต + ส. โทษ).

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

กระซาบ

หมายถึง(กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคำเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.

คางคก

หมายถึงน. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนอุตพิด คันจัด ใช้เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันชั่วเบา. (กบิลว่าน).

เชย

หมายถึงก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคำว่า ฝนเชย; พัดมาเฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.

ขมิบ

หมายถึง[ขะหฺมิบ] ก. กระหมิบ, บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก ช่องทวารหนักและทวารเบา).

อุบอิบ,อุบอิบ ๆ,อุบ ๆ อิบ ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบอิบ พูดอุบอิบ ๆ บ่นอุบ ๆ อิบ ๆ, อุบ ก็ว่า.

ฝีเท้า

หมายถึงน. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น เช่น ม้าฝีเท้าดี ม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.

หงิง ๆ

หมายถึงว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.

ทวารทั้งเก้า

หมายถึงน. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ