ค้นเจอ 99 รายการ

รัสสระ

หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).

กรรแสง

หมายถึง[กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).

จินต์จล

หมายถึงก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้จินต์จล. (โลกนิติ). (ป. จินฺต ว่า คิด, จล ว่าหวั่นไหว).

กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.

เตียว

หมายถึงน. ลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิงขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง. (พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).

กำดัด

หมายถึงว. กำลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กำหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).

ขับซอ

หมายถึง(ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).

บรรณศาลา

หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).

ตรึก

หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).

กำธร

หมายถึง[-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่า บรรลือเสียง, ตีรัว).

กรินทร์

หมายถึงน. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).

ดาบส

หมายถึง[-บด] น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ