ค้นเจอ 102 รายการ

ไม่ทัน

หมายถึงว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทำให้พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.

กรรมาธิการ

หมายถึง[กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.

อาภัพเหมือนปูน

หมายถึง(สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใครมองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่างประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึงปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.

หญ้า

หมายถึงน. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิดที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.

จีวรกาลสมัย

หมายถึง(แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).

เซต

หมายถึง(คณิต) น. คำที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ; ชุด เช่น เข้าเซตกัน; ลักษณนามใช้เรียกคนหรือของที่เข้ากลุ่มหรือเข้าชุดกัน เช่น ตัวหนังสือเซตเดียวกัน ตัวเลข ๒ เซต. (อ. set).

กระเดื่อง

หมายถึงว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.

การิตการก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทำ, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา “ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท “ยัง” หรือกริยานุเคราะห์ “ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน.

อวด

หมายถึงก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.

ล้นเกล้าล้นกระหม่อม

หมายถึงน. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพนับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็นราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่า ล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.

เกล้ากระหม่อม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ปริยาย

หมายถึง[ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ