ค้นเจอ 154 รายการ

ขยม

หมายถึง[ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ข. ขฺญุ ํ).

เสียมือ

หมายถึงก. สูญเสียมือไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น คนอย่างนี้ ฉันไม่ไหว้ให้เสียมือหรอก.

ตัวเปล่า

หมายถึงว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลำพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า.

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

เสียตา

หมายถึงก. สูญเสียนัยน์ตาไป; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่อยากดูให้เสียตาหรอก, เสียสายตา ก็ว่า.

เผือ

หมายถึง(กลอน) ส. ข้า, ฉัน, เช่น สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ. (ลอ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ยามกาลิก

หมายถึง[ยามะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).

ให้เสียง

หมายถึงก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.

เสียน้ำตา

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสียน้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้.

เสียปาก

หมายถึงก. พูดออกไปเปล่าประโยชน์ เช่น เด็กดื้ออย่างนี้เตือนไปก็เสียปากเปล่า ๆ; ไม่คู่ควรที่จะกิน เช่น ของอย่างนี้ฉันไม่กินให้เสียปาก.

สัตตาหกาลิก

หมายถึงน. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).

เสียหู

หมายถึงก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ