ค้นเจอ 119 รายการ

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

โมฆียกรรม

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.

ทำบุญ

หมายถึงก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.

กรม

หมายถึง[กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคำว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกำนนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).

อานิสงส์

หมายถึงน. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

พอน

หมายถึงว. สีเหลืองนวล, เรียกชันชนิดหนึ่งที่มีสีอย่างนั้น สำหรับใช้พอนเรือเป็นต้นว่า ชันพอน หรือ ลาพอน. ก. ยาด้วยชันเป็นต้นให้เรียบ เช่น พอนครุ พอนกะโล่.

สกรรมกริยา

หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.

มาตราพฤติ

หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.

ฟ้าเคืองสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน. (ขุนช้างขุนแผน).

มานัต

หมายถึงน. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).

ลหุ

หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ