ค้นเจอ 126 รายการ

อานนท์,อานนท์,อานันท์

หมายถึงน. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).

อินธน์

หมายถึงน. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สำหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

หาริน,หารี

หมายถึงว. ถือเอา, นำไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).

อุปบล

หมายถึง[อุบบน] (แบบ) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. (ป. อุปฺปล).

อห

หมายถึง[อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.

หาร

หมายถึง[หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนำไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).

ธุรกิจ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ธุระกิจ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

มหรรฆ,มหรรฆ-

หมายถึง[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหรรฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก. (ส. มหารฺฆ; ป. มหคฺฆ).

กฤด,กฤด-

หมายถึง[กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).

วาสิน,วาสี,วาสี

หมายถึงน. ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า. (ป., ส.).

รัต

หมายถึงก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ