ค้นเจอ 331 รายการ

บาดคอ

หมายถึงก. รู้สึกคล้ายระคายคอเนื่องจากกินของที่มีรสหวานจัดเย็นจัดเป็นต้น.

อัมพิละ

หมายถึงว. มีรสเปรี้ยว. (ป.; ส. อมฺล). (เทียบ ข. อมฺพิล ว่า มะขาม).

ข้าวควบ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว.

ตรีมธุระ

หมายถึง[-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.

กร่อย

หมายถึง[กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.

เบญจธรรม

หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล

มธุรส

หมายถึงน. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. ว. ไพเราะ เช่น มธุรสวาจา. (ป., ส.).

ขื่น

หมายถึงว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.

สวาท

หมายถึง[สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน).

ต้มเค็ม

หมายถึงน. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้นเคี่ยวให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบไทยมีรสหวานเค็ม.

ตรีทิพยรส

หมายถึง[-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.

สะเออะ

หมายถึงน. เรียกนํ้าที่ได้จากเนื้อสัตว์สดเช่นกุ้ง เนื้อที่คั้นกับนํ้ามะนาว ตั้งไฟให้สุก ใช้ปรุงรส ว่า นํ้าสะเออะ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ