ค้นเจอ 99 รายการ

สิกขา

หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).

ไหว้

หมายถึงก. ทำความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.

อนุโมทนา

หมายถึงก. ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี; เรียกคำให้ศีลให้พรของพระว่า คำอนุโมทนา. (ป., ส.).

เทอญ

หมายถึง[เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).

สามเณร

หมายถึง[สามมะเนน] น. ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐, เรียกสั้น ๆ ว่า เณร. (ป.).

ไตรสิกขา

หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.

จำศีล

หมายถึงก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจำศีล.

สมานสังวาส

หมายถึง[สะมานะ-] น. การอยู่ร่วมเสมอกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้). (ป. สมานสํวาส).

สัตบุรุษ

หมายถึง[สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).

คู่มิตร

หมายถึง(โหร) น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู.

อริยทรัพย์

หมายถึงน. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ