ค้นเจอ 84 รายการ

เรียงพี่เรียงน้อง

หมายถึงว. เป็นลูกพี่ลูกน้องกันตามลำดับศักดิ์ คือผู้เป็นพี่มีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้พี่ น้องมีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้น้อง บุตรทั้งสองฝ่ายนั้นเรียกว่า เรียงพี่เรียงน้องกัน.

ภราดร,ภราดา,ภราตร,ภราตร-,ภราตฤ,ภราตฤ-

หมายถึง[พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ-, พะราตฺรึ-] น. พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).

ไหน,ไหน,ไหนล่ะ,ไหนว่า,ไหนว่าจะ

หมายถึงว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะรางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.

ขมอย

หมายถึง[ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่หรือของน้อง).

บาก

หมายถึงก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).

ริม

หมายถึงน. ชาย, ขอบ, เช่น ริมคลอง ริมผ้า ริมโต๊ะ. บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริมหน้าต่าง. ว. ด้านนอก เช่น น้องนอนกลาง พี่นอนริม; (ปาก) เกือบ, จวน, เช่น ริมตาย.

กระแตไต่ไม้

หมายถึงน. ชื่อกลบท ตัวอย่างว่า หมายหมองมาดสวาทน้องมาดหมองหมาย; ชื่อเพลง เดิมเป็นของชาวเหนือพวกกะเหรี่ยง บัดนี้ใช้เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงเสภา ทำตอนรื่นเริง.

หน

หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

ภาร,ภาร-,ภาระ,ภาระ

หมายถึง[พาน, พาระ-] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).

สะพาน

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่ทำสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลอง เป็นต้น บางทีทำยื่นลงในนํ้าสำหรับขึ้นลง, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว, ตะพาน ก็ว่า.

จรุง,จรูง

หมายถึง[จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).

น้อย

หมายถึงว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ไม่สำคัญ เช่น ครูน้อย ผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ