ค้นเจอ 99 รายการ

กรรมบถ

หมายถึง[กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

กรรมชรูป

หมายถึง[กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

โมฆียกรรม

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.

ทำบุญ

หมายถึงก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.

กรม

หมายถึง[กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคำว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกำนนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).

อานิสงส์

หมายถึงน. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

สกรรมกริยา

หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.

ฟ้าเคืองสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน. (ขุนช้างขุนแผน).

มานัต

หมายถึงน. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ