ค้นเจอ 58 รายการ

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

ราชวรวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.

ทีเอ็นที

หมายถึงน. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒ °ซ. เป็นวัตถุระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).

วรรณยุกต์,วรรณยุต

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

บังคับ

หมายถึงน. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติ; ให้จำต้องทำ เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

นะคะ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

นะค่ะ, นะค๊ะ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บัณฑิต

หมายถึง[บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).

นิรโทษกรรม

หมายถึง[นิระโทดสะกำ] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ