ค้นเจอ 276 รายการ

จตุบท

หมายถึงน. สัตว์สี่เท้า. (ป.).

หย่ง,หย่ง,หย่ง ๆ

หมายถึงว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือ รอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

กระโหย่ง

หมายถึง[-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

เหงือกปลาหมอ

หมายถึงน. โรคที่เกิดตามฝ่าเท้าทำให้หนังฝ่าเท้าแตกเป็นกลีบ ๆ.

บทบงสุ์

หมายถึง[บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).

มัญชีร,มัญชีร-

หมายถึง[มันชีระ-] น. กำไลเท้า. (ส.).

ตาปลา

หมายถึงน. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า.

ปัณหิ

หมายถึงน. ส้นเท้า. (ป.; ส. ปารฺษณิ).

อุ้ง

หมายถึงน. ส่วนกลางของฝ่ามือหรือฝ่าเท้า.

ตะครุบกบ

หมายถึงก. หกล้มเอามือเท้าพื้น.

ย่างตีน,ย่างเท้า

หมายถึงก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า.

มัญเชียร

หมายถึงน. กำไลเท้า. (ส. มญฺชีร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ