ค้นเจอ 59 รายการ

สูติบัตร เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

สูจิบัตร เป็นคำที่เขียนผิด ❌

มูล,มูล,มูล-

หมายถึง[มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

บริคณห์สนธิ

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจำกัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจำนวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจำกัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.

จดหมายเหตุ

หมายถึงน. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.

เหยียบย่ำ

หมายถึงก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.

แกงได

หมายถึงน. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทำไว้เป็นสำคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทำลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.

สลักหลัง

หมายถึง(กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้เป็นที่ระลึก.

ค่าฤชาธรรมเนียม

หมายถึง[-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.

ใบเบิกร่อง

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวางจดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนำเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้าสมุทรปราการ.

อ้างอิง

หมายถึงก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.

ประทวนสินค้า

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจำนำสินค้าที่จดแจ้งไว้ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.

หมายกำหนดการ

หมายถึงน. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ