ค้นเจอ 47 รายการ

ยับย่อย,ยับเยิน

หมายถึงว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า.

ที่ไหนได้

หมายถึง(ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.

ฟั่น

หมายถึงก. คลึงสิ่งเป็นเส้นหลายเส้นให้เข้าเกลียวกัน เช่น ฟั่นด้าย, นำป่านหรือปอเป็นต้นมาตีเกลียวให้เป็นเชือก เรียกว่า ฟั่นเชือก, คลึงขี้ผึ้งที่มีไส้อยู่ภายในให้เป็นเล่มเทียน เรียกว่า ฟั่นเทียน.

สมุดไทย

หมายถึงน. สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ, สมุดข่อย ก็เรียก.

หนังสือ

หมายถึงน. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสารที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.

ฉบับ

หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

หยวก

หมายถึงน. ลำต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วย เช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมาก ตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.

วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์

หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

ตอน

หมายถึงน. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ