ค้นเจอ 49 รายการ

สายสิญจน์

หมายถึงน. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.

กฤตยา,กฤตยา,กฤติยา

หมายถึง[กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).

น้ำสาบาน

หมายถึงน. น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่นน้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนตร์ หรือสุราผสมเลือดที่ผู้ร่วมสาบานกรีดให้หยดลงแล้วดื่มประกอบกับคำปฏิญาณ เช่น พี่น้องร่วมน้ำสาบาน เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.

สาธยาย

หมายถึง[สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).

เสื่อม

หมายถึงก. น้อยลง, หย่อนลง, เช่น เครื่องจักรเมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพก็ค่อย ๆ เสื่อมไป, เสีย เช่น เสื่อมเกียรติ, ค่อย ๆ ลดลง เช่น ความจำเสื่อม, ต่ำกว่าระดับเดิม เช่น เมื่อความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น คุณธรรมของคนก็เสื่อมลง, ถอยความขลัง เช่น มนตร์เสื่อม.

โอม

หมายถึงน. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคำขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).

หม้อ

หมายถึงน. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียกตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.

เมฆฉาย

หมายถึง[เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรมด้วยมนตร์ เชื่อกันว่าจะทำให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่าคนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวท-

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

สังข,สังข-,สังข์

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Chalonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ