ค้นเจอ 55 รายการ

พิสัย

หมายถึงน. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).

เกงเขง,เกงเคง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเจี๊ยบเปรี้ยว. (ดู กระเจี๊ยบเปรี้ยว ที่ กระเจี๊ยบ).

จุด

หมายถึงน. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. ก. ทำเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทำให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.

หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

สัตม,สัตม-

หมายถึงว. ที่ ๗. (ป. สตฺตม).

หน

หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

อัฐม,อัฐม-,อัฐมะ

หมายถึง[อัดถะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘ เช่น อัฐมภาค อัฐมราชา. (ป. อฏฺม).

อัษฎมะ

หมายถึง[อัดสะดะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘. (ส.; ป. อฏฺม).

อาเทศ

หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).

ทุติย,ทุติย-

หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).

ทุติยาสาฬหะ

หมายถึง[-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ