ค้นเจอ 58 รายการ

ลู่

หมายถึงน. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬาหมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.

โอกาส

หมายถึง[-กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).

บถ

หมายถึง(แบบ) น. ทาง เช่น กรรมบถ. (ป. ปถ).

มารค

หมายถึง[มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

คลอง

หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.

เชราะ

หมายถึง[เชฺราะ] (กลอน) น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ. ก. เซาะให้ลึกเข้าไปหรือเป็นทางเข้าไป.

เซราะ

หมายถึง[เซฺราะ] (กลอน) น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ.

สาย

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว เช่น สายสร้อย สายไฟฟ้า สายรุ้ง สายนาฬิกา สายเข็มขัด, ทาง, เส้นทาง, เช่น รถไฟสายเหนือ รถไฟสายใต้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ สายงาน; ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้วแยกเป็นสกุลย่อยออกไป; ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระวังคนใช้เป็นสายให้โจร; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาวว่า สาย เช่น สายสะพาย ๒ สาย ทาง ๓ สาย.

หน

หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

อัทธ,อัทธ-,อัทธ์,อัทธา,อัทธาน

หมายถึง[อัดทะ-] น. ทาง, ทางไกล, ระยะไกล; กาล, กาลยาวนาน. (ป.; ส. อธฺวนฺ).

ทิศ,ทิศา

หมายถึงน. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).

บรรจบ

หมายถึง[บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจำนวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ