ค้นเจอ 523 รายการ

ดักดาน

หมายถึงว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า) เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน.

ดักแด้

หมายถึงก. ลำบากเต็มแย่, ขัดสนเต็มแย่.

ดักษณะ

หมายถึง[ดักสะนะ] (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ มีมีด พร้า บุ้ง ตะไบ เป็นต้น; การตัด, การปอก, การทอน; ตัวหารเฉพาะ (วิชาเลข). (ส. ตกฺษณ; ป. ตจฺฉน).

ดักษณี

หมายถึง[-สะนี] น. ผึ่ง, ขวาน. (ส. ตกฺษณี; ป. ตจฺฉนี).

ดั้งเดิม

หมายถึงว. เก่าก่อน, เก่าแก่, เดิมที.

ดัด

หมายถึงก. ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทำให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.

ดัดตน

หมายถึงก. บริหารร่างกาย.

ดัน

หมายถึงก. ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกำลัง เช่น ดันประตู; (ปาก) โดยปริยายหมายถึงขืนทำ เช่น กางเกงคับยังดันสวมเข้าไปได้, ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะทำ เช่น ดันขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.

ดับ

หมายถึงก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทำให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทำให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทำให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทำให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.

ดับ

หมายถึงน. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชทางเหนือ ตรงกับเลข ๒.

ดับชีพ

หมายถึงก. ตาย.

ด่าง

หมายถึงว. เป็นดวงหรือเป็นจุดขาว ๆ ผิดกับสีพื้น เช่น วัวด่าง มือด่าง, มีสีจางกว่าสีเดิมเป็นแห่ง ๆ เช่น ผ้าด่าง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ