ค้นเจอ 99 รายการ

ชนกกรรม

หมายถึง[ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).

วิบาก

หมายถึงน. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).

กรรมเวร

หมายถึง[กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.

แพะรับบาป

หมายถึง(สำ) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น.

บุพกรรม

หมายถึงน. กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).

มติ

หมายถึง[มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).

อโหสิกรรม

หมายถึง[อะ-] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).

ทำบาป

หมายถึงก. ประกอบกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น, ทำบาปทำกรรม ก็ว่า.

บาปหนา

หมายถึง[บาบหฺนา] น. บาปมาก. ว. มีบาปมาก, มีบาปสั่งสมไว้มาก, มีกรรมมาก, เช่น คนบาปหนา.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

สายลับ

หมายถึงน. ผู้เข้าไปสืบความลับ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการจารกรรมของสายลับ, สาย ก็ว่า.

กรรมคติ

หมายถึง[กำมะคะติ] น. ทางดำเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ