ค้นเจอ 119 รายการ

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

สาลินี

หมายถึงน. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คำ คำที่ ๑ และคำที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ

อนวัช,อนวัช-

หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).

พิบาก

หมายถึงน. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).

ชนกกรรม

หมายถึง[ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).

ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์

หมายถึง[ฉันทะ-] น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).

วิบาก

หมายถึงน. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).

กรรมเวร

หมายถึง[กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.

แพะรับบาป

หมายถึง(สำ) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น.

วรรณพฤติ

หมายถึง[วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.

กะโกระ

หมายถึง[-โกฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยใบเตย รูปร่างคล้ายครุ.

บุพกรรม

หมายถึงน. กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ