ค้นเจอ 119 รายการ

กล่าวเกลี้ยง

หมายถึง(กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).

คาวี

หมายถึงน. วัว, วัวตัวเมีย, เช่น คชสารโคคาวี. (กฎ. ราชบุรี). (ป.).

เคา

หมายถึง(โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวดเพียงหลังเคา. (ม. คำหลวง กุมาร).

บังคับใจ

หมายถึงก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อำนาจบังคับให้เขาต้องฝืนใจทำ.

ทนม

หมายถึง[ทะนม] (กลอน) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกสอนตน. (ป., ส. ทมน).

โคตร,โคตร-

หมายถึง[โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คำนี้บางทีก็นำไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคำด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).

นิคห,นิคห-,นิคหะ

หมายถึง[นิกคะหะ-, นิกคะหะ] (แบบ) น. การข่ม, การปราบปราม. (ป. นิคฺคห).

ลายสอง

หมายถึงน. ลายสานหรือลายขัดที่ยก ๒ ข่ม ๒; ชื่อผ้าชนิดหนึ่งทอเป็นลายเช่นนั้น.

ตบะ

หมายถึงน. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).

โฆรวิส

หมายถึง[โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.).

ทอดทฤษฎี

หมายถึง(แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอดทฤษฎี. (เสือโค).

ชำนิ

หมายถึงก. ขี่ เช่น ชำนิโคคำแหงแรง; พาหนะ เช่น ควรชำนิพระองค์. (สมุทรโฆษ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ