ค้นเจอ 61 รายการ

คาบลูกคาบดอก

หมายถึง(สำ) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

คมคาย

หมายถึงว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.

หมากลางถนน

หมายถึงน. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.

เกลา

หมายถึง[เกฺลา] ก. ทำสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสำนวนหนังสือ เกลานิสัย.

ไหน ๆ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไปไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.

อัฐ

หมายถึง[อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.

ขะน่อง,ขาน่อง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.

ติดตลก

หมายถึงก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคนร้องพัก, มักพูดใช้สำนวนโวหารหรือแสดงท่าทางชวนให้คนหัวเราะขบขัน.

สำบัดสำนวน

หมายถึงก. พูดจาหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใจตรง ๆ, ใช้คารมพลิกแพลง, เล่นลิ้น, เช่น อย่าสำบัดสำนวนให้มากนัก. น. สำนวน, คารมพลิกแพลง, เช่น เขาพูดมีสำบัดสำนวนมาก บทความของเขาเต็มไปด้วยสำบัดสำนวน.

สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ

หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.

ไหนจะ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ