ค้นเจอ 570 รายการ

ค่าไถ่

หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.

ค่าจ้าง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.

ค่าชดเชย

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง.

ค่าล่วงเวลา

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.

ถลำใจ

หมายถึงก. ปล่อยใจให้ตกอยู่ในข้อผูกพัน.

ใฝ่

หมายถึงก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน.

คิดถึง

หมายถึงก. นึกถึง, นึกถึงด้วยใจผูกพัน.

ข้าวใหม่ปลามัน

หมายถึง(สำ) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.

ขลับ

หมายถึง[ขฺลับ] ว. เลื่อม, เกลี้ยงเป็นมัน, เช่น ดำขลับ มันขลับ.

สิตามัน

หมายถึงครุฑ, ผู้มีหน้าสีขาว

เหมันต,เหมันต-,เหมันต์

หมายถึง[เหมันตะ-] น. ฤดูหนาว ในคำว่า ฤดูเหมันต์, เหมันตฤดู ก็ว่า. (ป., ส.).

อาพัทธ์

หมายถึงก. ผูกพัน, ติดพัน, เกี่ยวพัน. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ