ค้นเจอ 58 รายการ

กระแส

หมายถึงน. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).

ทาง

หมายถึงน. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย, ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า ทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.

ทำนอง

หมายถึงน. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำนองคลองธรรม ทำนองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทำนองสวด ทำนองเทศน์ ทำนองเพลง.

อยน,อยน-

หมายถึง[อะยะนะ-] น. ทาง, ถนน, ที่ไป, ที่เดิน; การไป, การถึง. (ป., ส.).

ไม้เขน

หมายถึงน. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีกิ่งชี้ไปในทิศทางต่าง ๆ กัน ๓ ทาง.

ด้าน

หมายถึงน. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.

เสี่ยง

หมายถึงก. ลองเผชิญดู, ลองทำดูในสิ่งที่อาจให้ผลได้ ๒ ทาง คือ ดีหรือไม่ดี แต่หวังว่าจะได้ผลทางดี เช่น งานนี้ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่ ต้องเสี่ยงทำดู.

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

วลัญช์

หมายถึง[วะลัน] (แบบ) น. รอย, เครื่องหมาย; ทาง; การใช้สอย. (ป.).

วิถี

หมายถึงน. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิถีทาง วิถีชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).

มุข,มุข-

หมายถึง[มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).

ลัง

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลำตัวแคบกว่าเล็กน้อย ข้างตัวมีลายเส้นสีหม่นพาดตามยาว ๒-๓ ทาง มีชุกชุมในบริเวณห่างฝั่งมากกว่า, ทู หรือ ทูโม่ง ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ