ค้นเจอ 84 รายการ

ศิลปศึกษา

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.

สุนทรียศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความงาม และสิ่งที่งามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ.

ดุริยางคศิลป์

หมายถึง[ดุริยางคะ-] น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.

ศิลปิน,ศิลปี

หมายถึง[สินละ-] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.

วาทศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ประทับใจ. (อ. rhetoric).

ยูโด

หมายถึงน. ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่นโดยไม่ต้องใช้อาวุธ.

มือต้น

หมายถึง(ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

หัตถศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการผลิตสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ โดยถือความงามเป็นหลัก. (ป.).

วรรณศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.

รสิก

หมายถึงน. ผู้รู้จักรส, ผู้รู้จักรสในทางกวีและศิลปะต่าง ๆ. (ป., ส.).

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ