ค้นเจอ 181 รายการ

ธรรมราชา

หมายถึงน. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.

ธรรมวัตร

หมายถึงน. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.

ธรรมสภา

หมายถึงน. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา).

ธรรมสาร

หมายถึงน. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

ธรรมารมณ์

หมายถึง[ทำมา-] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).

นักธรรม

หมายถึงน. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ มี ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.

บุรุษธรรม

หมายถึง[บุหฺรุดสะทำ] น. คติสำหรับตัว.

เบญจธรรม

หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล

ปลงธรรมสังเวช

หมายถึง[ปฺลงทำมะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).

ผู้แทนโดยชอบธรรม

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง; บุคคลซึ่งตามกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมบางอย่างซึ่งผู้เยาว์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำเองโดยลำพัง.

ผู้รับบุตรบุญธรรม

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรของบุคคลอื่นมาเป็นบุตรของตน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ