ค้นเจอ 933 รายการ

บทดอกสร้อย

หมายถึงน. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.

บทประพันธ์

หมายถึงน. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.

บทภาชน์

หมายถึง[บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).

บทภาชนีย์

หมายถึง[บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).

บทรัช

หมายถึง[บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).

บ่ม

หมายถึงก. ทำให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.

บ่มบารมี

หมายถึงก. บำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์, สั่งสมอบรมบารมีให้สมบูรณ์.

บรม,บรม-

หมายถึง[บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.

บรมบพิตร

หมายถึง[บอรมมะบอพิด] น. คำที่พระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.

บรมวงศานุวงศ์

หมายถึง(ราชา) น. ญาติ.

บรรจง

หมายถึง[บัน-] ก. ตั้งใจทำ เช่น บรรจงเขียน, ทำโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.

บรรณ,บรรณ-

หมายถึง[บัน, บันนะ-] น. ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ