ค้นเจอ 260 รายการ

คลายคล้าย,คล้ายคล้าย

หมายถึงก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลำดับ).

สาธารณ์

หมายถึง[สาทาน] ว. ตํ่า, เลว; ชั่วช้า, เช่น ดังกากาจชาติช้าสาธารณ์ จะประมาณหมายหงส์พงศ์พระยา. (อิเหนา), บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสาธารณ์; ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. (ป., ส. ว่า ทั่วไป, สามัญ).

หมึก

หมายถึงน. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียนหรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ลายมือ.

พายุไต้ฝุ่น

หมายถึงน. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

ไต้ฝุ่น

หมายถึงน. ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).

บัง

หมายถึงคำพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอำ เช่น บำเพ็ญ.

ฮ่อยจ๊อ

หมายถึงน. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อปู มันหมูแข็งต้มสุก ผสมกับแป้งมันและเครื่องปรุงรส บดหรือโขลกจนเหนียวแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้เป็นท่อน กลม ๆ ยาว ๆ มัดเป็นเปลาะ ๆ นึ่งแล้วทอดให้สุก กินกับน้ำจิ้ม. (จ.).

สิถิล

หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).

จตุสดมภ์

หมายถึงน. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

เหลียน

หมายถึง[เหฺลียน] น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, อีเหลียน ก็เรียก. (จ.).

จัตุสดมภ์

หมายถึง[จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ