ค้นเจอ 1,070 รายการ

บุคลิก,บุคลิก-

หมายถึง[บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จำเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).

บุษย,บุษย-,บุษย์,บุษยะ,ปุษยะ,ปุสสะ

หมายถึง[บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.

บูชนีย,บูชนีย-

หมายถึง[บูชะนียะ-] (แบบ) ว. ควรบูชา. (ป., ส. ปูชนีย).

เบญจางค,เบญจางค-,เบญจางค์

หมายถึง[เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.

โบราณ,โบราณ-

หมายถึง[โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

ปฏิการ,ปฏิการ-,ปฏิการะ

หมายถึง[ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).

ปฏิคคหิต,ปฏิคหิต,ปฏิคหิต-

หมายถึง[ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-] (แบบ) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิตด้วยศรัทธา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺคหิต).

ปฏิภาค,ปฏิภาค-

หมายถึง[ปะติพาก, ปะติพากคะ-] น. ส่วนเปรียบ. ว. เทียบเคียง, เหมือน. (ป. ปฏิภาค; ส. ปฺรติภาค).

ปฏิรูป,ปฏิรูป-

หมายถึง[-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).

ประสัยห,ประสัยห-,ประสัยห์

หมายถึง[ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).

ประสาท,ประสาท,ประสาท-,ประสาท-

หมายถึง[ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ