ค้นเจอ 1,913 รายการ

รชกะ

หมายถึง[ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).

หมากัดอย่ากัดตอบ

หมายถึง(สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.

ตีวัวกระทบคราด

หมายถึง(สำ) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทำได้.

มนุษย์มนา

หมายถึง(ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).

สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง

หมายถึง(สำ; โบ) น. พ่อค้าหลายคนเลี้ยงก็สู้ขุนนางผู้ใหญ่คนเดียวเลี้ยงไม่ได้.

ธรณีสาร

หมายถึงน. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอนอยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร.

ขน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.

หน้าม้า

หมายถึงน. ผู้ที่ทำเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนันเป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.

บาแดง

หมายถึง(โบ) น. คนเดินหมาย, คนนำข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงานตามคน, ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.

ประแดง

หมายถึง(โบ) น. คนเดินหมาย, คนนำข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงานตามคน, ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.

ใส่ร้าย,ใส่ร้ายป้ายสี

หมายถึงก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย เช่น เขาใส่ร้ายฉันว่าขโมยของเพื่อน.

ล้งเล้ง

หมายถึง(ปาก) ก. ต่อว่าหรือดุว่าด้วยเสียงเอ็ดอึง เช่น ฉันทำแก้วแตกเขามาล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะวิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ