ค้นเจอ 120 รายการ

จดุรงค์

หมายถึง[จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

เสนาธิปัต

หมายถึงน. ฉัตรผ้าขาวองค์ ๑ ใน ๓ องค์ ซึ่งเป็นชุดที่เรียกว่า พระกรรภิรมย์, เสมาธิปัต ก็ว่า.

อัฏฐังค์

หมายถึงน. องค์ ๘, ๘ ส่วน, ๘ ชั้น. (ป.).

พระคะแนน

หมายถึงน. พระเครื่องขนาดเล็ก ใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวนพระเครื่องที่สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ ๑๐๐ องค์ ก็มีพระคะแนน ๑ องค์.

จัตุรงค์

หมายถึงว. จตุรงค์, องค์ ๔, ๔ เหล่า.

รุทระ

หมายถึง[รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสำคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).

ไตรทศ

หมายถึง[-ทด] น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า.

พุทธองค์

หมายถึงส. หมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธองค์.

มุขกระสัน

หมายถึงน. มุขที่เชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง.

เชียบ

หมายถึงก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).

อสีติมหาสาวก

หมายถึงน. สาวกใหญ่ ๘๐ องค์ของพระพุทธเจ้า. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ