ค้นเจอ 28 รายการ

สูจิบัตร

หมายถึงน. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา.

โหมโรง

หมายถึงน. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.

อีหลัดถัดทา

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งแห่งคำร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า “อีหลัดถัดทา”.

ลาโรง

หมายถึงก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ, (ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทำมา เช่น เขาลาโรงจากการเมืองแล้ว.

ออกงาน

หมายถึงก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชนหรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).

โอละพ่อ

หมายถึงว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คำขึ้นต้นที่พวกระเบ็งร้องและรำในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธีโสกันต์.

หนาตา

หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

หนังสด

หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.

เนื้อหา

หมายถึงน. ใจความสำคัญ, ข้อสำคัญ, สาระสำคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).

หนังกลางวัน

หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้ายหนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.

หนัง

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทำเป็นของใช้หรือเป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.

หนังใหญ่

หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอและหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคนกัน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ