ค้นเจอ 28 รายการ

โขยด

หมายถึง[ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขาโขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

กำตาก

หมายถึงน. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดินยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.

ราชยาน

หมายถึง[ราดชะยาน] น. ยานชนิดคานหามของหลวง, เรียกว่า พระยาน ก็มี เช่น พระยานมาศ, เรียกว่า พระราชยาน ก็มี เช่น พระราชยานกง พระราชยานถม, เรียกว่า พระที่นั่งราชยาน ก็มี เช่น พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง, หรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็มี คือ พระที่นั่งราเชนทรยาน. (ส.).

เจ้าคุณ

หมายถึง(โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพระราชาคณะ.

กระหย่อน

หมายถึง(โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.

อุปฮาด

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. (โบ; ถิ่น-อีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่น-พายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.

สาธารณ์

หมายถึง[สาทาน] ว. ตํ่า, เลว; ชั่วช้า, เช่น ดังกากาจชาติช้าสาธารณ์ จะประมาณหมายหงส์พงศ์พระยา. (อิเหนา), บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสาธารณ์; ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. (ป., ส. ว่า ทั่วไป, สามัญ).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

คุณหญิง

หมายถึงน. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

สัปทน

หมายถึง[สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่องแสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้าหรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือพระพุทธรูป เป็นต้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ