ค้นเจอ 2,045 รายการ

เสียหนัก

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา หมายความว่า มาก เช่น งานอย่างนี้ ทำมาเสียหนักแล้ว.

อี๋

หมายถึงว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอี๋.

ยังเลย

หมายถึงใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย.

อย่า

หมายถึง[หฺย่า] ว. คำประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทำการต่าง ๆ.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

โด่

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่นตำตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.

เคย

หมายถึงใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยาที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.

เสียแล้ว

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

เรียน

หมายถึงใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.

น่า

หมายถึงว. คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ