ค้นเจอ 16 รายการ

กู่

หมายถึง(โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.

เทง,เท้ง,เท้ง

หมายถึง(โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คำหลวง กุมาร).

ศิษย์ก้นกุฏิ

หมายถึง[-กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึงศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.

กระ

หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ