ค้นเจอ 152 รายการ

กฎหมายอาญา

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).

กฎหมายเอกชน

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).

กฎแห่งกรรม

หมายถึงน. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทำจักต้องได้รับ.

กรรกฎ

หมายถึง[กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).

กฤษฎีกา

หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

การทะเบียนราษฎร

หมายถึง(กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร.

กุฎาคาร

หมายถึงน. เรือนยอดเช่นปราสาท เช่น ธก็แต่งกุฎาคาร ปราสาท. (ลอ.).

ข้อกฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. ข้อความที่เกี่ยวกับการใช้บังคับหรือการตีความกฎหมาย.

ชฎามหากฐิน

หมายถึงน. ชฎาที่ทำยอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปักตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.

ดุษฎี

หมายถึง[ดุดสะดี] น. ความยินดี, ความชื่นชม. (ส.).

ดุษฎีบัณฑิต

หมายถึงน. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.

ทฤษฎี

หมายถึง[ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺิ). (อ. theory).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ