ค้นเจอ 425 รายการ

ชค,ชค-

หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).

ลิดตีนปู

หมายถึงก. เด็ดตีนปูออกหมด, โดยปริยายหมายถึงตัดกำลังไปทีละน้อย ๆ.

แทะ

หมายถึงก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทำมาหากินมาคอยแทะเงินพ่อแม่.

นำ

หมายถึงก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.

อุปนิสัย

หมายถึง[อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).

นาควิถี

หมายถึง[นากคะ-] น. ทางที่พระจันทร์เดินไปในระหว่างดาวสวาดิ (หรือ อัศวินี) ภรณี และกฤติกา. (ส.).

บุคลิกภาพ

หมายถึง[บุกคะลิกกะพาบ] น. สภาพนิสัยจำเพาะคน.

พยัคฆ,พยัคฆ-,พยัคฆ์

หมายถึง[พะยักคะ-] น. เสือโคร่ง. (ป. พฺยคฺฆ, วฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).

คฤหาสน์

หมายถึง[คะรึหาด] น. เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และสง่าผ่าเผย. (ส. คฺฤหาสน).

ชิงเชิง

หมายถึงน. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.

ธุดงควัตร

หมายถึง[ทุดงคะวัด] น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทำ.

คต,-คต

หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ