ค้นเจอ 428 รายการ

แว่ว

หมายถึงก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.

กำทวน

หมายถึงว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกำธร กำทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).

ชนาง

หมายถึง[ชะ-] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.).

ชาย

หมายถึงน. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล.

ศอกกลับ

หมายถึงก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.

บังไพร

หมายถึงก. เสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์เห็นเป็นป่าไม่เห็นตัวคน ใช้ในการคล้องช้างเป็นต้น.

ธเรษตรีศวร

หมายถึง[ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).

วาสิน,วาสี,วาสี

หมายถึงน. ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า. (ป., ส.).

รัต

หมายถึงก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).

เกษตรกรรม

หมายถึง[กะเสดตฺระกำ] น. การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมง และการป่าไม้. (ส.).

คอกช้าง

หมายถึงน. สถานที่ที่ทำขึ้นสำหรับจับช้างป่า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายคอก มีซองและมีปีก ๒ ข้าง.

บัญจรงค์

หมายถึง[บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึกวัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ