ค้นเจอ 299 รายการ

บดีพรต,บดีวรดา

หมายถึงน. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัวแก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่านั้น. (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).

ทักษิณาวรรต

หมายถึงน. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).

คาพยุต

หมายถึง[คาพะยุด] (แบบ) น. คาวุต, มาตราโบราณ สำหรับวัดความยาว ( = ๔,๐๐๐ ทัณฑะ หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น). (ป. คาวุต; ส. คฺวยูต).

ปฏิภาคนิมิต

หมายถึงน. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).

ยัชโญปวีต

หมายถึง[ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรำ หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).

เซ็นชื่อ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

เซ็นต์ชื่อ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ฉัพพรรณรังสี

หมายถึง[ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).

นิมมานรดี

หมายถึง[นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).

กตเวที

หมายถึง[กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].

ร้าย

หมายถึงว. ดุ เช่น ใจร้าย, ชั่ว เช่น ปากร้าย คนร้าย, ไม่ดี เช่น เคราะห์ร้าย โชคร้าย ชะตาร้าย; ที่เป็นอันตราย เช่น พิษร้าย เนื้อร้าย โรคร้าย. น. ความไม่ดี เช่น ใส่ร้าย ป้ายร้าย ให้ร้าย.

ผงชูรส

หมายถึงน. เกลือกรดชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมต มีสูตร HOOC·(CH2)2·CH(NH2)·COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร.

ตบะ

หมายถึงน. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ