ค้นเจอ 1,470 รายการ

กรรไตร

หมายถึง[กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).

กรรมกร

หมายถึง[กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).

กรรมเวร

หมายถึง[กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.

กรรมาร

หมายถึง[กำมาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).

กระโถนปากแตร

หมายถึงน. กระโถนทรงกลมมีปากผายออกคล้ายแตร.

กระพัตร

หมายถึง[-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.

กฤดา,กฤดาการ

หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).

กลัมพร

หมายถึง[กะลำพอน] (แบบ) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย. (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย. (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี.

กะเร

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นต้นตายใบเป็น. (ดู ต้นตายใบเป็น).

กะโรกะเร

หมายถึงก. ง่อนแง่น, จวนจะล้ม. (ปาเลกัว).

กัมปนาการ

หมายถึงน. อาการคือการหวั่นไหว. (ป.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ