ค้นเจอ 5,104 รายการ

อธิการบดี

หมายถึง[อะทิกานบอดี] น. ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย.

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

หมายถึง(สำ) น. การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับพบเห็นด้วยตนเอง.

ข่มเหง

หมายถึง[-เหง] ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.

อัฐยายซื้อขนมยาย

หมายถึง(สำ) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น.

โชค

หมายถึงน. สิ่งที่นำผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.

ใส่จริต

หมายถึงก. แสร้งทำกิริยาท่าทางหรือวาจาให้ดูน่ารักเพื่อเรียกร้องความสนใจเป็นต้น (มักใช้แก่หญิง).

อวดรู้

หมายถึงก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.

ยาชกะ

หมายถึง[-ชะกะ] น. ผู้ที่ทำพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).

ลำพัง

หมายถึงว. เฉพาะตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น, เช่น อยู่กันตามลำพัง, ฝ่ายเดียว เช่น ต้องต่อสู้กับข้าศึกแต่ลำพัง.

ลุแก่โทสะ,ลุโทสะ

หมายถึงก. บันดาลโทสะ, โกรธมาก, เช่น เขาทำร้ายผู้อื่นด้วยลุแก่โทสะ.

ปรัตถจริยา

หมายถึง[ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.).

เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน

หมายถึง(สำ) ก. แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ