ค้นเจอ 231 รายการ

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

คู่โค

หมายถึง(โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [“ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” -พงศ. ร. ๒].

ขมวน

หมายถึง[ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.

วาฬ

หมายถึง[วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลาโผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.

ภาษา

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

ตัวตืด

หมายถึงน. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียรวมอยู่ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด Taenia solium ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด.

กฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

แซ่บ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

แซบ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ